ภาควิชาทันตพยาธิวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

ติดต่อภาควิชา
ชั้น 7 ตึกสมเด็จย่า '93
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
โทร. 02-218-8798
โทรสาร 02-218-8798

 

 


    

     การบริการวินิจฉัยโรคจากชิ้นเนื้อเยื่อ

     หน่วยบริการตรวจวินิจฉัยโรคจากชิ้นเนื้อเยื่อ
     ภาควิชาทันตพยาธิวิทยา มีการจัดตั้งหน่วยบริการตรวจวินิจฉัยโรคจากชิ้นเนื้อเยื่อ ซึ่งประกอบด้วย
-คณาจารย์ผู้ตรวจวินิจฉัยโรค เป็นผู้มีคุณวุฒิเฉพาะทาง มีมาตราฐานและมีการเพิ่มพูนวิชาความรู้สม่ำเสมอ
-เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ ซึ่งปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติจะได้รับการพัฒนาศักยภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
-ห้องปฎิบัติการ ที่มีการจัดสถานที่ให้เป็นระเบียบเพื่อให้การทำงานมีความคล่องตัว สะดวก สะอาด รวดเร็ว

    การขอรับบริการตรวจวินิจฉัยโรคจากชิ้นเนื้อเยื่อ
     ส่งใบคำร้องขอรับบริการตรวจวินิจฉัยชิ้นเนื้อเยื่อ ชิ้นเนื้อเยื่อผู้ป่วย พร้อมทั้งค่าบริการ มาที่ ภาควิชาทันตพยาธิวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ทางภาควิชาจะจัดส่งรายงานผลการตรวจวินิจฉัยโรคกลับไปให้ภายใน 1-2 สัปดาห์ในกรณีที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน ยกเว้นกรณีที่ชิ้นเนื้อเยื่อที่ส่งมามีจำนวนมาก หรือ เป็นชิ้นกระดูกที่ต้องผ่านกระบวนการเพื่อละลายแคลเซียมก่อน หรือกรณีซึ่งต้องย้อมสีพิเศษเพิ่มเติมซึ่งต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งทำให้การจัดส่งรายงานผลการตรวจวินิจฉัยโรคล่าช้าได้ หากทันตแพทย์ผู้รักษาท่านใดจำเป็นต้องการทราบผลการตรวจวินิจฉัยโรคโดยด่วนสามารถทำการติดต่อเพื่อปรึกษากับทันตแพทย์ผู้อ่านชิ้นเนื้อได้โดยตรง ทางโทรศัพท์ 02-218-8798

ใบขอรับบริการตรวจวินิจฉัยโรคจากชิ้นเนื้อเยื่อ    DOWNLOAD

    ข้อแนะนำในการขอรับบริการตรวจวินิจฉัยโรคจากชิ้นเนื้อเยื่อ
1. การรักษาสภาพชิ้นเนื้อเยื่อ
     แนะนำให้ใช้น้ำยา 10% Formalin ถ้ามีน้ำยาที่เข้มข้นกว่านี้ควรทำให้เจือจางก่อน ดังวิธีต่อไปนี้

      วิธีการเตรียม Formalin Saline Solution (1000 ml.)
          37-40% Fomalin 100 ml.
          Sodium Chloride 9 g.
          Tap water 900 ml.
หรือหาทางโรงพยาบาลมี Normal Saline อยู่แล้วก็ทำการเตรียม 10% Formalin ได้โดยการเติม 37-40% Fomalin 100 ml. ลงใน Normal Saline 900 ml. เลยได้ ทั้งนี้เพราะ 10% Formalin ก็สามารถเก็บรักษาสภาพชิ้นเนื้อได้และไม่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อและระบบทางเดินหายใจของผู้ปฎิบัติงานมากนัก

2. ภาชนะบรรจุชิ้นเนื้อเยื่อ
     ควรใช้ขวดปากกว้างขนาดพอเหมาะกับชิ้นเนื้อ เพื่อประหยัดน้ำยาคงสภาพชิ้นเนื้อและในกรณีที่ขวดแตกก็จะลดปริมาณสารพิษที่ต้องสัมผัส ขวดที่ใช้ต้องมีฝาปิดสนิทและปิดชื่อผู้ป่วยที่ด้านนอกขวดให้เรียบร้อยทุกครั้ง
* กรณีที่ส่งมาหลายชิ้นในครั้งเดียวต้องตรวจสอบให้ชื่อผู้ป่วยตรงกับชิ้นเนื้อเสมอ
ข้อห้าม ไม่ควรใส่ชิ้นเนื้อเยื่อมาในถุงพลาสติกเนื่องจากถุงมักรั่วระหว่างการส่งไปรษณีย์ทำให้ฟอร์มาลินซึ่งเป็นสารพิษปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อมและมีกลิ่นเหม็นที่ระคายเคืองมาก

3. การส่งพัสดุชิ้นเนื้อเยื่อ

    ควรบรรจุขวดที่มีชิ้นเนื้อลงในกล่องกระดาษที่แข็งแรงพอที่นำส่งถึงปลายทางโดยไม่เสียหาย และควรใช้กระดาษฝอยหรือม้วนกระดาษอัดเพื่อป้องกันขวดบรรจุชิ้นเคลื่อนไปมาหรือกระทบกระแทกจนแตก
และควรใช้ถุงพลาสติบรรจุใบคำร้องขอรับบริการตรวจวินิจฉัยชิ้นเนื้อเยื่อ แล้วปิดปากถุงให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันมิให้ข้อมูลเลอะเลือนกรณีเกิดอุบัติเหตุน้ำยา Formaline หก


อัตราค่าตรวจชิ้นเนื้อเยื่อ ภาควิชาทันตพยาธิวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

รายการ
ค่าบริการ (บาท)
ชิ้นเนื้อขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ซม. 100
ชิ้นเนื้อขนาดเล็ก ในผู้ป่วยคนเดียวกันขิ้นถัดไป 50

ชิ้นละชิ้นเนื้อขนาดใหญ่ (เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 2.5 ซม.แต่ไม่เกิน 5 ซม.)

200

ชิ้นเนื้อขนาดใหญ่ (เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 5 ซม.) 300
Radical neck dissection 400
Frozen section 200
PAP smear 40
Body fluid 60
Special stain 150
Immunofluorescence 500
Immunoperoxidase 500